การบริการพื้นฐาน
– การคมนาคม
๑. มีถนนลาดยาง จำนวน  ๒  สาย  (นค ๓๐๐๖ ไทยเจริญ – นาขาม ,นค ๓๐๒๓ นาเจริญ – ห้วยก้านเหลือง)
๒. มีถนนลูกรังระหว่างหมู่บ้าน จำนวน ๑๑ สาย  (คลองเค็ม–นาเจริญกลาง),
(นาเจริญกลาง–โนนเสถียร), (นาล้อม–โนนประเสริฐ), (หนองเลิง– โนนสว่าง),
(สุขสำราญ-โนนสว่าง),(สุขสำราญ-หนองไฮ),(หนองหมู-ดอนปอ),(โนนสง่า-นาโซ่)
(หนองหมู-สมประสงค์), (สรรเสริญ-โนนเสถียร), (นาเจริญเหนือ-โนนเสถียร)
๓. มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในหมู่บ้าน              จำนวน ๑๓   สาย
๔. มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กระหว่างหมู่บ้าน       จำนวน    ๒   สาย
(หนองหมู-สุขสำราญ), (หนองเลิง-โนนสว่าง)
๕. มีถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต และบางส่วนเป็นถนนลูกรัง

–  การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์                                 ๑        แห่ง

– การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน  รวม                         ๑๓      หมู่บ้าน

๑.  สภาพปัญหา
๑.๑ ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๑.  การคมนาคมไม่สะดวกทั้งภายในหมู่บ้าน และระหว่างหมู่บ้าน
๒.  การสื่อสารโทรคมนาคมไม่เพียงพอ
๓.  ขยายเขตบริการไฟฟ้าไม่ทั่วถึง
๔.  ขยายเขตบริการประปาไม่ทั่วถึง
๕.  ขาดเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน
 ๑.๒  ปัญหาการผลิต การตลาด รายได้และการมีงานทำ
๑.  ค่าจ้างแรงงานต่ำ
๒.  ราคาผลผลิตตกต่ำ
๓  ตลาดรับซื้อผลผลิตอยู่ห่างไกล
๔.  ไม่มีการประกอบอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร
๕.  เกษตรกรขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่
 ๑.๓  ปัญหาสาธารณสุขและกรมอนามัย
๑.  ประชาชนขาดเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำหมู่บ้าน
๒.  ขาดการโภชนาการในเด็ก
๓.  การให้ความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานไม่ทั่วถึง
๔.  ชุมชนมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
๕. ประชาชนมีอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อสูง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง
 ๑.๔  ปัญหาน้ำกินน้ำใช้เพื่อการเกษตร
๑.  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตื้นเขิน
๒.  ขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ในฤดูแล้ง
๓.  ไม่มีการบำรุงรักษา ซ่อมแซม แหล่งน้ำที่มีอยู่
๔.  น้ำที่ใช้ในการบริโภค ไม่สะอาดพอ
  ๑.๕ ปัญหาความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
๑.  ประชาชนให้ความสนใจด้านการศึกษาน้อย
๒.  เด็กจบภาคบังคับไม่ได้เรียนต่อ
๓.  สถานศึกษาอยู่ห่างไกล
๔.  ขาดความสนใจในด้านข้อมูลข่าวสาร
๕.  แหล่งข้อมูลข่าวสารมีไม่เพียงพอ
 ๑.๖ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
๑.  ไฟป่าในฤดูแล้ง
๒.  ดินเสื่อมคุณภาพ
๓.  การตัดไม้ทำลายป่า
๔.  ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๒.  ความต้องการของประชาชน

     ๒.๑ ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๑.  ถนน คสล. ถนนลาดยาง ทั้งภายในและระหว่างหมู่บ้าน
๒.  ขยายเขตบริการไฟฟ้าให้ทั่วถึงและครอบคลุมทุกครัวเรือน
๓.  ขยายเขตบริการประปาให้ทั่วถึงและครอบคลุมทุกครัวเรือน
๔.  เพิ่มจำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน
๕.  จัดทำเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินทำกินให้ถูกต้อง
     ๒.๒ ความต้องการด้านการผลิต การตลาด รายได้และการมีงานทำ
๑.  จัดให้มีการฝึกอบรมด้านวิชาชีพ
๒.  ส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพหลังฤดูทำนา
๓.  พัฒนาฝีมือแรงงานในท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน
๔.  จัดตั้งองค์กรเพื่อรับซื้อผลผลิตด้านการเกษตร
๕.  ขยายการบริการด้านต่าง ๆ ให้ทั่วถึง
๖.  เพิ่มค่าจ้างแรงงานในท้องถิ่น
๒.๓  ความต้องการด้านสาธารณสุขและการอนามัย
๑.  จัดซื้อเวชภัณฑ์สามัญประจำบ้านไว้บริการประชาชนในหมู่บ้าน
๒.  อบรม ให้ความรู้ด้านการสาธารณสุขมูลฐานให้ครบทุกหมู่บ้าน
๓.  มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
      ๒.๔  ความต้องการด้านน้ำกิน น้ำใช้เพื่อการเกษตร
๑.  ทำการขุดลอกหนองน้ำที่ตื้นเขิน
๒.  จัดทำสถานที่เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
๓.  ให้มีการบำรุง รักษา แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
๔.  ติดตั้งระบบถังกรองน้ำที่ได้มาตรฐาน
๕.  ให้มีการสร้างแหล่งน้ำผิวดิน
๖.  ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นช่วยกันอนุรักษ์แหล่งน้ำที่มีอยู่
      ๒.๕  ความต้องการด้านความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
๑.  ให้มีการขยายโอกาสทางการศึกษา
๒.  ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
๓.  จัดให้มีโรงเรียนขยายโอกาสในเขตชุมชนและหมู่บ้านห่างไกล
๔.  จัดให้มีสถานที่บริการด้านข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษา
๕.  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
       ๒.๖  ความต้องการด้านทรัพยากรธรรมชาติ
๑.  ให้มีการปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ
๒.  ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักการรักษา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๓.  ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ